ผู้เขียนเทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์เผยแพร่วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ.2559 ว่าที่พันตรีวิเวก จงสูงเนิน เกษตรอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ เปิดเผยถึงสถานการณ์ การปลูกส้มโอของอำเภอบ้านแท่นว่า ปัจจุบันพื้นที่ปลูกให้ผลผลิตแล้ว 510 ไร่ โดยเฉลี่ยแล้ว พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ จำนวน 36 ต้น เมื่อส้มโออายุต้น 5 ปีขึ้นไป เก็บผลผลิตได้ 100 ผล ต่อต้น ต่อปี แต่ละผลมีน้ำหนักเฉลี่ย 1.3-1.8 กิโลกรัม พันธุ์ที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ทองดี “ส้มโอบ้านแท่น ปลูกมากที่ตำบลบ้านแท่นและสามสวน จุดเริ่มต้นของงานปลูกส้มโอนั้น เมื่อปี 2530 นายบุญมี นามวงศ์ นำมะม่วงจากอำเภอบ้านแท่นไปจำหน่ายยังตลาดสี่มุมเมือง เมื่อนำผลผลิตไปถึงตลาดพบว่ามีความเสียหายไม่น้อย ขณะที่ส้มโอจากนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ขนย้ายไม่เสียหาย นายบุญมีจึงไปซื้อกิ่งพันธุ์ส้มโอทองดี จากนครชัยศรี มาปลูกที่อำเภอบ้านแท่น พื้นที่ปลูกแต่เดิมไม่มากนัก แต่เนื่องจากจำหน่ายได้ดี …
เผยแพร่วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ.2560 ในช่วงนี้ กระแสรักสุขภาพที่มาแรง หลายคนหันมาบริโภคพืชผักกันมากขึ้น และผักสุขภาพอย่างต้นอ่อนข้าวสาลีก็ได้รับความนิยมไม่น้อยไปกว่าต้นอ่อนทานตะวันเลย ซึ่งเราจะไปดู วิธีการเพาะปลูก และการดูแลกัน ต้นอ่อนข้าวสาลี หรือเรียกอีกอย่างว่า วีท กราส (Wheat grass) เป็นต้นอ่อนหรือต้นกล้าที่เจริญเติบโตมาจากเมล็ดข้าวสาลี โดยในระยะต้นกล้าจะมีสีเขียวเข็มที่อุดมไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ และโปรตีนที่หลากหลาย สำหรับฟาร์มเพาะต้นอ่อนข้าวสาลี ที่จะพาไปชมในวันนี้ ตั้งอยู่ที่ ซ.จรัญสนินวงศ์ 35 โดยมี คุณนพดล กิจพิทักษ์ เป็นเจ้าของฟาร์ม คุณนพดล พูดถึง จุดเริ่มต้นการเริ่มเพาะต้นอ่อนข้าวสาลี ว่า ช่วงประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว เทรนด์สุขภาพมาแรง ก็มองหาว่า ตัวไหน ที่ลูกค้ากินซ้ำๆ แล้วเราพอจะปลูกเองได้ จากนั้นก็หาข้อมูลในอินเตอร์เน็ทจนเจอ ต้นอ่อนข้าวสาลี ก็คือเอาเมล็ดข้าวสาลีมาเพาะให้อยู่ในระยะต้นอ่อน ไม่เกิน 7 วัน ซึ่งระยะนี้ จะเป็นระยะที่มีสารอาหารดีที่สุด …
ผู้เขียนสุรเดช สดคมขำเผยแพร่วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ.2560 คุณลัดดาวัลย์ อึงสวัสดิ์ อยู่บ้านเลขที่ 186/1 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเกษตรกรที่เลี้ยงเป็ดไข่จนประสบผลสำเร็จ โดยเธอได้เน้นสร้างมูลค่าของไข่ ด้วยการนำมาแปรรูปทำเป็นไข่เค็มดินสอพอง ทำให้ไข่เป็ดสามารถทำตลาดได้หลากหลายช่องทาง และที่สำคัญมีบริการส่งให้ทางไปรษณีย์ ส่งตรงถึงบ้านกันเลยทีเดียว คุณลัดดาวัลย์ อึงสวัสดิ์ และสามี คุณลัดดาวัลย์ เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเดิมทีมีอาชีพเกษตรกรรมเกี่ยวกับการปลูกพืชไร่ ต่อมาพอทำไปเรื่อยๆ เริ่มรู้สึกว่าทำรายได้ไม่ค่อยดี จึงเปลี่ยนมาเลี้ยงโคเลี้ยงกระบือในเวลาต่อมา แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์ต่อการสร้างรายได้ของเธอ ทำให้ได้มองเห็นอีกหนึ่งช่องทางคือการเลี้ยงเป็ดไข่ที่น่าจะเป็นอาชีพที่ทำเงินได้อย่างแท้จริง พื้นที่ภายในฟาร์ม “ช่วงนั้นเราเห็นว่าลูกเราชอบกินไข่เป็ดทุกวัน ก็มีโอกาสได้ไปรู้จักว่า ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงสัตว์ กบินทร์บุรี เขาก็มีการสนับสนุนแจกเป็ดให้มาเลี้ยง ช่วงนั้นเราก็ได้รับมาเลี้ยงก่อนประมาณ 20 ตัว เป็ดก็ให้ไข่ออกมาจำนวนมาก ทีนี้ไข่เริ่มกินไม่ทัน ก็เลยเอาไข่ที่มีมาทำไข่เค็มก่อน พอเสร็จแล้วก็ลองไปขายตามตลาดนัด สรุปขายดีมาก คราวนี้ก็เลยเริ่มที่จะเลี้ยงอย่างจริงจัง ก็เลยสั่งเป็ดไข่จากศูนย์วิจัยฯ มาเลี้ยงในเวลาต่อมา” …
ผู้เขียนทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยาเผยแพร่วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ.2560 “ปุ๋ยหมักเติมอากาศ” เป็นกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักรูปแบบหนึ่งที่เน้นการผสมรวมกันระหว่างวัสดุอินทรีย์ที่ให้คาร์บอนและไนโตรเจน จากพวกซากพืช, สัตว์ และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขณะเดียวกันใช้วิธีเติมอากาศแทนการกลับกองปุ๋ย เพื่อรักษาสภาพอากาศในกองให้มีความเหมาะสมเพื่อเร่งกระบวนการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ธรรมชาติในกองปุ๋ย เมื่อย่อยสลายสมบูรณ์แล้วจะแปรสภาพเป็นปุ๋ยหมัก ที่มีลักษณะสีดำคล้ำหรือสีน้ำตาลปนดำ ไม่มีกลิ่น มีคุณสมบัติที่ดีต่อรากพืช สามารถดูดไปใช้ได้ กว่า 2 ปีแล้ว ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ได้จัดโครงการนำ “ปุ๋ยหมักเติมอากาศ” มาใช้ในสวนผลไม้ของเกษตรในพื้นที่หลายชนิด จนพบว่าผลผลิตที่ได้มีคุณภาพทัดเทียมกับปุ๋ยชนิดอื่น แต่ที่สำคัญช่วยในเรื่องการลดต้นทุนได้มากกว่า คุณบุญเกื้อ ทองแท้ เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงานบอกว่า โครงการนี้เกิดขึ้นจากนโยบายของกรมวิชาการ โดยเมื่อนำมาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการจะแบ่งคร่าวๆ เป็นสองส่วนคือ จัดเป็นโครงการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านที่สนใจ กับการนำปุ๋ยหมักเติมอากาศไปใส่ในแปลงปลูกพืชไม้ผลหลายชนิดเพื่อหาข้อมูลนำไปวิเคราะห์ประเมินผล คุณบุญเกื้อ ทองแท้(ขวา)กับคุณพนัส ศรีเขาล้าน เจ้าของสวนสะละ คุณบุญเกื้อ กล่าวต่อว่า ข้อดีหรือจุดเด่นของปุ๋ยหมักเติมอากาศอยู่ตรงสามารถใช้วัสดุทางธรรมชาติของแต่ละพื้นที่ได้ อย่างพื้นที่จังหวัดชุมพร จะนำขี้ไก่แกลบ ขี้วัว และขุยมะพร้าว มาใช้ในอัตรา 30 : …
เผยแพร่วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ.2560 ใบมันสำปะหลัง อาหารสัตว์เพื่อสุขภาพสัตว์และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ นำเสนอโดยผศ.ดร. เกรียงไกร แก้วตระกูลพงษ์ และคณะภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการศึกษาระบบข้อมูลความต้องการของตลาด ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ปัญหาความขาดแคลนข้อมูลด้านการตลาด สถานการณ์ และทิศทางการค้าสินค้าเกษตร รวมทั้งข้อมูลอุปสงค์และอุปทานโดยรวม เป็นปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจลงทุนของเกษตรกร รวมทั้งเป็นปัญหาต่อการกำหนดนโยบายและการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการค้าสินค้าเกษตรของหน่วยงานภาครัฐ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนิน “โครงการศึกษาระบบข้อมูลความต้องการของตลาด” เพื่อกำหนดต้นแบบและยุทธศาสตร์ในการเพิ่มพูนข้อมูลความรู้ทิศทางการตลาดการค้าสินค้าเกษตรที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันต่อสถานการณ์ ให้ถึงมือเกษตรกร รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเกษตรกรในเรื่องสินค้าเกษตรเป้าหมายทั้งข้าวและมันสำปะหลัง ตลอดจนทางเลือกสินค้าเกษตรอื่นๆที่มีศักยภาพ ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการวางแผนการผลิตในแต่ละฤดูกาล เพื่อให้การลงทุนในปัจจัยการผลิตเกิดผลลัพธ์ที่คุ้มค่า ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด และทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น ปรับวิถีแห่งการเป็นเกษตรกร ให้เป็น Smart Farmer ในการก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 และเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืนและพอเพียง ผศ.ดร.เกรียงไกร แก้วตระกูลพงษ์ จากผลการศึกษาพบว่า มีความต้องการของตลาดที่จะนำใบมันสำปะหลังมาผลิตเป็นอาหารสัตว์เพื่อเสริมสุขภาพสัตว์ (Cassava Leaf as …
ที่มาเทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์เผยแพร่วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ.2560 ไม้ด่างเป็นพืชซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางธรรมชาติ แต่ความผิดปกติทางสายพันธุ์นี้เองกลับทำให้เกิดความแปลกแตกต่างกลายเป็นจุดเด่นจากสีเดิมๆ กลายเป็นแถบสี ลายจุดหรืออาจมีหลายสีสัน และลวดลายในใบเดียวกันที่แสดงอาการด่างตามส่วน ต่างๆ ทั้งลำต้นใบ และดอก จันผาด่าง ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของเมล็ดจันทน์ผาที่เห็นกันทั่วไป มีขนาดต้น สี และใบที่แตกต่างกันจากต้นแม่ โดยเฉพาะใบจะมีลวดลายและสีที่แปลกกว่าจันทน์ผาที่ปลูกเป็นไม้ประดับตามสนามหญ้าและสวนหินเป็นไม้ประดับชนิดหนึ่งที่เหล่านักสะสมต้นไม้ต้องใช้เวลาแสวงหามาไว้เป็นของตนเองไม่ว่าจะด้วยราคาเท่าก็ตาม ด้วยลักษณะของใบ สี และขนาดต้นที่แปลกแตกต่างจากต้นจันทน์ผาเดิม ทำให้หลายคนหันมาให้ความสนใจหาชื้อและเพาะเก็บสะสมไว้ดูเล่น เนื่องจากการเพาะขยายพันธุ์ยังค่อนข้างยากอีกทั้งต้องใช้ระยะเวลาในการเพาะกว่าจะได้ต้นด่างที่มีลักษณะต่างจากต้นแม่ ดั้งนั้นปริมาณจึงมีไม่มากเหมือนกับจันทน์ผาที่เห็นว่างจำหน่ายอยู่ ปัจจุบันจันผาด่างมีปลูกกันเฉพาะกลุ่ม ซึ่งจะมีทั้งปลูกไว้ดูเล่นและปลูกเก็บสะสมพอมีปริมาณมากพอก็นำมาและแลกเปลี่ยน เช่น ลุงสวัสดิ์ เที่ยงตรง เกษตรกรที่เปลี่ยนจากอาชีพ ทำไร่ มาเพาะเลี้ยงจันผาจำหน่ายหาเลี้ยงครอบครัวอยู่ที่ตำบลคลองหาด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ลุงสวัสดิ์ เล่าให้ฟังว่า เดิมตนเป็นเกษตกรปลูกข้าวโพดอยู่ที่จังหัวดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ปลูกกว่า 300 ไร่ แต่ด้วยสภาพอากาศที่ทำอยู่ในช่วงนั้นแห้งแล้งอย่างต่อเนื่อง ข้าวโพดที่ปลูกลมตาย กู้เงินมาลงทุนจนเป็นหนี้ จนตัวเองไม่ไหวจึงตัดสินใจขายทุกสิ่งที่มีอยู่ใช้หนี้และย้ายครอบครัวมาหาอาชีพและที่ทำกินใหม่ที่จังหวัดสระแก้ว “มาครั้งแรก ชาวบ้านที่รู้จักเขาก็แบ่งที่ให้สร้างที่อยู่อาศัย ตอนนั้นก็ยังไม่รู้จะมาทำอาชีพอะไรหาเลี้ยงครอบครัว พอดีชาวบ้านบริเวณนี้เขามีอาชีพเสริมในช่วงที่ว่างจากการทำการเกษตร คือ ขึ้นเขาไปหาเก็บต้นจันผาที่ขึ้นตามป่ามาจำหน่ายขายในราคากิ่งละ …
ผู้เขียนจิรวรรณ โรจนพรทิพย์เผยแพร่วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ.2560 “ปากช่อง” จังหวัดนครราชสีมา เป็นแหล่งปลูกน้อยหน่าที่มากสุดของไทย และคุณภาพดีที่สุดของประเทศ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาคุณภาพ การผลิต สายพันธุ์ สายพันธุ์น้อยหน่าที่เกษตรกรนิยมปลูก ได้แก่ น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง น้อยหน่าหนัง และน้อยหน่าฝ้าย ฯลฯ หน่วยงานท้องถิ่นได้จัดงาน “น้อยหน่าและของดีเมืองปากช่อง” ต่อเนื่องเป็นประจำในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลผลิตน้อยหน่า และไม้ผลอื่นๆ ของอำเภอปากช่อง โดยทั่วไป น้อยหน่าสามารถจำแนกตามลักษณะต่างๆ เช่น สีผิวของผล สีเนื้อและชนิดของเนื้อ ได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ น้อยหน่าพื้นเมือง หรือ น้อยหน่าฝ้าย แบ่งออกได้ 2 สายพันธุ์ ตามลักษณะของสีผล คือน้อยหน่าฝ้ายเขียว ซึ่งมีผลสีเขียว กับน้อยหน่าฝ้ายครั่งมีผลสีม่วงเข้ม น้อยหน่าฝ้าย น้ำหนักเฉลี่ย ผลละ 2-3 ขีด รสไม่หวานมากนัก เสียหายง่าย ผลผลิตเฉลี่ย …
ผู้เขียนวัชรี ภูรักษาเผยแพร่วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ.2560 “ซะป๊ะน้ำพริก” เริ่มต้นจากความต้องการที่จะทำให้คนทั่วไปได้รู้จักกับอาหารพื้นบ้านของ จ.แพร่ เนื่องจากเราเล็งเห็นว่าใน จ.แพร่ มีสินค้าดีๆ และอาหารอร่อยๆ อยู่มากมายไม่แพ้จังหวัดอื่น และชอบที่จะเป็นแม่ค้าขายของ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ คุณพิชญาภา สำเนียง เจ้าของเพจ ซะป๊ะน้ำพริก และเจ้าของโรงงานทำน้ำพริกที่จังหวัดแพร่ วัยเพียง 26 ปี เธอเล่าให้ฟังว่า “เมื่อประมาณ 3 ปีก่อน เคยทำงานบริษัทอยู่ที่กรุงเทพฯ ในตำแหน่งฝ่ายขาย การตลาด ช่วงที่ทำงานประจำก็กลับบ้านเกิดที่จังหวัดแพร่บ้าง เลยอยากนำเอาของดีของจังหวัดแพร่ คือ น้ำพริกน้ำย้อย มาขาย โดยอาศัยเพื่อนสนิทช่วยจัดส่งของให้ และตัวเราเองก็ทำการตลาดอยู่ที่กรุงเทพฯ เราเริ่มจากการรับน้ำพริกของชาวบ้านมาแบ่งบรรจุลงแพ็กเกจให้น่ารักสวยงาม ถ่ายภาพลงโซเชียลและโปรโมตขาย ช่วงแรกๆ ค่อนข้างยากเนื่องจากคนไม่รู้จักน้ำพริกที่เราขาย เน้นขายเฉพาะคนรู้จัก กลายเป็นความอร่อยที่บอกต่อกันแบบปากต่อปาก ภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี เราทำให้คนรู้จัก น้ำพริกน้ำย้อย และน้ำพริกหมูกระจก เป็นที่รู้จัก …
ผู้เขียนมิสมิลเลียนแนร์เผยแพร่วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ.2560 ในอดีต วัฒนธรรมการนอนพักกลางวัน เป็นวิถีชีวิตที่คุ้นเคยของชาวสเปน แม้ระยะหลังๆ เรื่องนี้เริ่มเป็นที่ถกเถียงมากขึ้น เพราะทำให้เลิกงานค่ำและไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน นอกจากนี้ การหาสถานที่พักงีบก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งๆ ที่ยังมีลูกค้าจำนวนหนึ่งที่ต้องการพักเอาแรง โดยเฉพาะในยามที่สภาพอากาศร้อนจัดมาเยือน แต่ไม่อยากเดินทางกลับบ้าน ซึ่งอาจใช้เวลามาก กว่าจะได้พักผ่อนจริงๆ “เซียสต้า แอนด์ โก” มองเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังมีอยู่ และเปิดตัวในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้บริการสถานที่พักงีบแก่ลูกค้าที่ต้องการความเงียบ และอากาศเย็นสบาย โดยเปิดให้บริการระหว่างเวลา 11 นาฬิกา จนถึง 19 นาฬิกา ผู้ที่มาใช้บริการสามารถเลือกได้ว่าอยากจะนอนบนเตียง 2 ชั้น หรือห้องส่วนตัว หรือต้องการแค่โซฟาสำหรับเอนหลัง เซียสต้า แอนด์ โก มีเตียงนอนพักไว้ให้บริการ 19 หลัง แถมเลือกได้ว่าจะพักกี่นาที หรือกี่ชั่วโมง ซึ่งค่าบริการก็จะหลากหลาย โดยค่าบริการสำหรับเตียงแบบ 2 ชั้น อยู่ที่ 8 …
ผู้เขียนเส้นทางเศรษฐีออนไลน์เผยแพร่วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2560 ‘ยางนา’ คือ หนึ่งในธุรกิจต้นแบบที่นำวัตถุดิบจากธรรมชาติในท้องที่มาพัฒนาเป็นสินค้าที่มีคุณสมบัติเฉพาะ จนประสบความสำเร็จอย่างก้าวกระโดด ธุรกิจที่เห็นภาพชัดในฐานะเชื่อมโยงเครือข่ายจากชุมชนชาวบ้าน สานต่อธุรกิจติดลมบน คุณวีรวุฒิ สังฆพรม เจ้าของบริษัท กาล (30) จำกัด อดีตหนุ่มออแกไนซ์เมืองหลวง ตั้งใจแน่วแน่หันหลังหวนคืนบ้านเกิด จากชีวิตที่เข็มทิศเปลี่ยนทางเดินจึงเริ่มเล็งหาธุรกิจลงทุน ยกแรกเริ่มจากเมื่อปี 2555 จังหวัดมีนโยบายรณรงค์ให้ชาวอุบลฯ ใส่เสื้อสียางนา เพื่อประชาสัมพันธ์ต้นยางนา ต้นไม้ประจำจังหวัดอุบลราชธานี เขาไม่พลาดที่จะสร้างผลงานลงมือเป็นหัวเรือใหญ่จัดประกวดแฟชั่นโชว์เสื้อผ้าย้อมสียางนา พร้อมนำไอเดียมาต่อยอดธุรกิจ ภายใต้แบรนด์ ‘ยางนา’ ที่ปัจจุบันทำประโยชน์รอบด้าน ครบวงจร ให้กับชุมชนท้องถิ่น แต่ปรากฏว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนรู้จักและจดจำแบรนด์จาก ‘สบู่รังไหม’มากกว่าเสื้อผ้า เขาจึงเห็นช่องทางทำการตลาด เริ่มลงพื้นที่อย่างจริงจัง เฟ้นหาวัตถุดิบดาวเด่นจากชุมชนต่างๆ พื้นที่ใดชำนาญปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปลูกต้นมะหาด ขมิ้น ฟักข้าว ฯลฯ ที่มีคุณภาพ ก็ออกไปรับซื้อวัตถุดิบต้นน้ำทั้งหมด ในรูปแบบประกันราคาอีกต่างหาก ปัจจุบันสบู่โฮมเมด แบรนด์ ‘ยางนา’ มีให้เลือกซื้อหากว่า …